วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

(คน)เขียนดี (คน)อ่านก็มีความสุข

... เป็นเรื่องของเด็กขอทานตาพิการ ติดป้ายบอกผู้คนที่เดิมผ่านไปมาว่า “ช่วยผมด้วย ผมตา บอด” มีเหรียญอยู่ไม่กี่เหรียญในหมวกของเขา
ชายคนหนึ่งเดินผ่านมาบริจาคเงินให้แก่เด็กชาย ชายคนนั้นหยิบป้ายที่เด็กติดไว้ขึ้นมา เขาหมุนป้ายไปมา(เหมือนใช้ความคิด) และเขียนข้อความในป้ายเสียใหม่ แล้ววางป้ายไว้ในที่ที่ทุกคนมองเห็น ในไม่ช้าผู้คนที่ผ่านไปมาก็บริจาคเงินให้เด็กชายจนเต็มหมวก


บ่าย ๆ ชายคนเดิมเดินผ่านมาอีกครั้ง เด็กตาบอดจำเสียงฝีเท้าของชายคนนี้ได้ จึงร้องถามว่าเมื่อเช้าชายคนนั้นเป็นคนเปลี่ยนข้อความในป้ายใช่หรือไม่ และเขาเขียนข้อความอะไรที่ป้ายนั่น ชายผู้นั้นตอบว่า ฉันก็เขียนไปตามความเป็นจริง เขียนเหมือนที่เธอเขียน แต่ด้วยคำพูดที่ต่างออกไป ฉันเขียนว่า “วันนี้ช่างเป็นวันที่สวยงามเสียจริง แต่ผมไม่อาจมองเห็นความสวยงามนั้นได้”
ใช่ ป้ายทั้ง 2 ป้ายมีความหมายเดียวกัน คือบอกว่าเด็กขอทานนั่นตาบอด แต่ป้ายอันหลังบอกกับผู้คนว่าคุณ ๆ ช่างโชคดีเหลือเกินที่ตาของคุณไม่บอด (ในทางจิตวิทยาข้อความหลังให้ความสำคัญกับผู้อ่านมากกว่า คนจึงสนใจ โดยธรรมชาติมนุษย์สนใจตัวเองก่อนคนอื่น เช่น เวลาเราดูรูปหมู่เราจะดูรูปตัวเองก่อน-ผู้เขียน)
คติจากเรื่องนี้คือจงขอบคุณในสิ่งที่คุณมีอยู่ จงสร้างสรรค์ และนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ คิดแตกต่าง และ คิดด้านบวก เชื้อเชิญผู้คนให้พบกับสิ่งที่ดีและความรู้ มีชีวิตอยู่โดยปราศจากข้อแก้ตัวใด ๆ รักโดยไม่ต้องเสียใจ เมื่อชีวิตมีเหตุผลเป็นร้อยที่ทำให้คุณต้องร้องไห้ แสดงให้ชีวิตเห็นว่าคุณมีเหตุผลเป็น พัน ๆที่จะยังยิ้มอยู่ได้ เผชิญกับอดึตอย่างไม่ทุกข์โศก ดูแลปัจจุบันของคุณอย่างมั่นใจ ตระเตรียมสำหรับอนาคตโดยไม่หวาดกลัว อย่ากลัวจงมีศรัทธา
มหาบุรุษพูดไว้ว่าชีวิตเป็นกระบวนการของการซ่อมและสร้างใหม่อย่างไม่รู้จบ ละความชั่ว สร้างความดี ถ้าต้องการดำเนินชีวิตอย่างไม่หวาดกลัว
คุณต้องมีความรู้สึกดีงามในใจ
สิ่งที่สวยงามที่สุดคือรอยยิ้มของผู้คน
แต่สิ่งที่งดงามยิ่งกว่า คือ...
การได้รู้ว่า เราคือเหตุแห่งรอยยิ้มนั้น

3 ความคิดเห็น:

  1. ตราตรึงใจ ^^ ไม่มีใครมองเห็นตัวเองได้อย่างถ่องแท้ แต่ก็ดูเหมือนว่า ยังอยากจะมองให้เห็นแต่ตัวเองอยู่นั่นแหละ

    ตอบลบ
  2. การมองเห็นแต่ข้อเสียของตัวเองเพียงด้านเดียวนั้นไร้ค่า จงเห็นคุณค่าของตัวเองและนำศักยภาพนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์เถิด

    ตอบลบ
  3. เหมือนเคยได้อ่านเรื่องแบบนี้จากที่ไหนสักแห่ง ไม่แน่ใจ ครูตาลเขียนเองเหรอคะ

    ตอบลบ