มีคนเลี้ยงไก่ 2 คน
คนที่ 1 ทุกเช้าจะเอาตะกร้าเข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงไก่ แล้วก็เก็บ "ขี้ไก่"
ใส่ตะกร้ากลับบ้าน!!
แล้วทิ้งไข่ไก่ให้เน่าไว้ในโรงเรือน
เมื่อเขาเอาขี้ไก่กลับถึงบ้าน ทั้งบ้านก็เหม็นหึ่ง ไปด้วยกลิ่นขึ้ไก่ !!!
คนทั้งบ้านต้องทนกับกลิ่นเหม็น!!!
คนเลี้ยงไก่คนที่ 2 เอาตะกร้าเข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงไก่ เก็บ "ไข่ไก่" ใส่ตะกร้าเอากลับบ้าน เขาเอาไข่ไก่ลงเจียว กลิ่นหอมอบอวลไปทั่วบ้าน คนทั้งบ้านได้กินไข่เจียวแสนอร่อย ไข่ไก่ที่เหลือเขาก็ เอาไปขาย แล้วได้เงินมาใช้จ่ายในบ้าน ทุกคนในบ้านมีความสุขมาก.....
ในชีวิตของเรา พวกเรา เป็นคนเก็บ "ไข่ไก่" หรือ เก็บ"ขี้ไก่"
เราเป็นคนเก็บ "ขี้ไก่" โดยเฝ้าแต่เก็บเรื่องร้ายๆ แย่ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตเราไว้ในหัวของเรา และมี
ความทุกข์ตลอดเวลาที่คิดถึงมัน!!!
หรือเราเป็นคนที่เก็บ "ไข่ไก่"
เราจดจำสิ่งที่ดีๆที่เกิดในชีวิตของเรา และมีความสุขทุกครั้งที่คิดถึงมัน!!
คนเราส่วนใหญ่ชอบเป็นคนเก็บ "ขี้ไก่"
เราถึงต้องเป็นทุกข์ตลอดเวลา เรื่องความเสียใจ ความผิดพลาด ความเจ็บใจ ฯลฯ มักจะติดอยู่ในใจ
ของเรานานเท่านาน
ถ้าเราอยากมีความสุขในชีวิต เลือกเก็บ "ไข่ไก่" กับชีวิต
ทิ้ง "ขี้ไก่" ไปเถอะ ชีวิตของเราจะได้มีความสุขซักที ...
วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เห็นอกเห็นใจหอยทาก
เช้าวันนี้อากาศสดใส แสงแดดพอร่ำไร สายลมพัดเย็นสบาย ทำให้เจ้าหอยทากอยากเดินเล่นสบายๆ
ขณะเจ้าหอยทากกำลังเดินเล่นอยู่ ก็มีเด็กๆ จำนวน ๔ คน มานั่งเฝ้าสังเกต การเดินทางของหอยทาก พร้อมตั้งคำถามมากมาย
- ทำไมหอยทากจึงเดินช้าจัง
-หอยทากคลอดออกเป็นไข่ หรือ ตัว
-เปลือกหอยที่ติดตัวเขามาได้อย่างไร
-เขาใช้อะไรในการเดินทาง
-เขามีอะไรบนหัวเขาเยอะแยะเลย
ตั้งคำถามไป เฝ้าสังเกต พร้อมดูแลให้หอยทากเดินอย่างปลอดภัย
เห็นความงดงามภายในจิตใจ ที่คอยดูแลและเอาใจใส่สิ่งที่อยู่รอบข้างเสมอค่ะ
ขณะเจ้าหอยทากกำลังเดินเล่นอยู่ ก็มีเด็กๆ จำนวน ๔ คน มานั่งเฝ้าสังเกต การเดินทางของหอยทาก พร้อมตั้งคำถามมากมาย
- ทำไมหอยทากจึงเดินช้าจัง
-หอยทากคลอดออกเป็นไข่ หรือ ตัว
-เปลือกหอยที่ติดตัวเขามาได้อย่างไร
-เขาใช้อะไรในการเดินทาง
-เขามีอะไรบนหัวเขาเยอะแยะเลย
ตั้งคำถามไป เฝ้าสังเกต พร้อมดูแลให้หอยทากเดินอย่างปลอดภัย
เห็นความงดงามภายในจิตใจ ที่คอยดูแลและเอาใจใส่สิ่งที่อยู่รอบข้างเสมอค่ะ
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ความงดงาม.....ตามธรรมชาติ
สังคมเมืองแห่งท่องเที่ยว ที่มีประชากรเยอะและการแข่งขันสูง แต่ยังมีมุมสงบงาม เรียบง่ายและความละเมียดละไมในชีวิต เกิดขึ้น ณ โรงเรียนกาละพัฒน์ บริเวณด้านหน้าโรงเรียนจะมีขุมน้ำ ด้านหลังโอบล้อมด้วยภูเขาและต้นไม้
ส่วนภายในโรงเรียน ก็มีธรรมชาติมากมาย ทั้งพืชและสัตว์ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือปลูกเพิ่มเติม โดยให้อิงอาศัยซึ่งกันและกัน แมลงปออาศัยต้นไม้ ต้นไม้อาศัยแมลงปอ
ทุกสิ่งดำเนินชีวิตไปตามหน้าที่ เกิดขึ้นมา ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมาย สุดท้ายก็ตายจากไป
กิ้งก่าก็มีจังหวะการเดินแบบกิ้งก่า ส่วนคนก็มีจังหวะการเดินแบบคน หากบังคับฝืนให้คนไปเดินแบบกิ้งก่าหรือให้กิ้งก่ามาเดินแบบคน จังหวะและทำนองคงฟังผิดเพี้ยนไป
ผีเสื้อและดอกไม้ ซึ่งมีความงดงามที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่กันและกัน
ท่ามกลางธรรมชาติ เด็กๆ จะผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต เฝ้ามอง ชื่นชมและขอบคุณในความเป็นไปเหล่านั้น จึงเป็น"ความสุขลึกๆจากภายใน"
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เด็กมีปัญหา ตอนที่ 1
เป็นที่พูดกันมากว่าการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตในอนาคตได้อย่างมี "ความสุข" นั้นเชื่อกันว่าจะต้องจัดการเรียนการสอนแบบที่เอาปัญหาเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกเป็นภาษานักการศึกษาว่า Problem based learning อะไรคือการเรียนรู้แบบนี้ เรียนแล้วจะเป็นคนก้าวร้าวชอบมีปัญหาไหม และที่สำคัญ มีแต่ปัญหาแล้วจะมีความสุขได้อย่างไรกันล่ะเนี่ย
การเรียนรู้แบบมีปัญหาเป็นตัวตั้ง อันที่จริงแล้วไม่ได้เอาปัญหามาตั้ง หรือเริ่มจากการตั้งโจทย์ หลายคนติดกับดักเกี่ยวกับคำ เลยเริ่มการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม หรือถามคำถามก่อน แล้วชวนเด็กๆไปค้นหาคำตอบ ไม่ว่าจะให้เด็กๆค้นคว้า ไปทัศนศึกษา หรือทำโครงงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ แล้วถือว่าเป็นอันจบกระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบนี้พบได้ทั่วไป และบรรลุเป้าหมายได้ง่าย แต่ตื้นเขินมากในกระบวนการที่จะทำให้เกิดทักษะที่สูงขึ้นคือ "การคิดเป็น"
การนำไปสู่การสร้าง "เด็กมีปัญหา" มีเป้าหมายที่สำคัญสูงสุด อยู่ที่การสร้าง "ทักษะ" ของ "การคิดเป็น" แปลอีกครั้งหนึ่งว่า เด็กต้องคิดสร้างคำถามหรือเห็นปัญหาได้ด้วยตนเอง และอยากบุกตะลุยไปหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย เมื่อได้คำตอบก็นำมาคิดวิเคราะห์และหาข้อสรุปให้กับตนเอง อีกทั้งสังเคราะห์ต่อเพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องราวอื่นๆในชีวิต โดยให้ความสำคัญกับ "สาระ" ที่เป็นคำตอบน้อยกว่า "ทักษะ" ที่เกิดขึ้น เพราะทักษะนี้จะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆจนคิดได้กว้างขึ้น แยบยลขึ้น และสังเคราะห์ได้ชัดเจนมากขึ้น จนความสุขเกิดขึ้นเมื่อเกิดปัญญาที่พบว่า "มันเป็นเช่นนี้นี่เอง"
ฟังแล้วไม่น่าจะช่วยให้เด็กมีปัญหาเหล่านี้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เลย แต่ เชื่อได้ว่าเด็กมีปัญหา น่าจะได้เกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยชีวิตแน่นอน
ที่น่าสนใจต่อมาคือ พ่อแม่ และครูจะอยู่ที่ไหนในการเรียนรู้แบบนี้ เพราะเด็กมีปัญหาทั้งหลาย อาจจะไม่ต้องพึ่ง "สาระ" จากครูและพ่อแม่อีกต่อไปเมื่อเขาพบว่า สาระที่ครูและพ่อแม่มีนั้นไม่พอที่จะตอบคำถามของเขาอีกต่อไป งานไหว้ครูคงจะกลายเป็นงานวันไหว้ปัญหาแทน ท่าทางจะแย่
ลองมาแกะรอยกระบวนการเกิดปัญหาของเด็กๆดูว่า เด็กๆสร้างคำถามขึ้นได้อย่างไร เพราะเราแก่แล้วและใช้กระบวนการเหล่านี้น้อยลงไปมาก บางองค์กรใหญ่ๆที่ต้องการให้พนักงานสร้างนวัตกรรม (แปลว่า หาทางแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริง) บอกว่าให้ลองนึกถึงตนเองที่อายุ 6 ขวบ แล้วจะทำให้คิดออก ซึ่งยากมากสำหรับผู้สูงวัย เพราะทักษะนี้ไม่ได้ถูกพัฒนา และสังคมเองก็นิยมคนแก่ที่ไร้ปัญหาด้วยเช่นกัน เพราะควบคุมและปกครองง่าย
กระบวนการแรกที่เด็กเริ่มเรียนรู้ คือ "การสังเกต" เด็กจะใช้สัมผัส ที่หลากหลายตามความสามารถที่มีเพิ่มขึ้นตามอายุ ไม่ว่าจากการได้ยินที่ในเด็กเล็กๆ จะเริ่มสังเกตและจดจำเสียงของแม่ เสียงของของเล่น จนถึงการมองเห็น การสัมผัส การได้กลิ่น การสังเกต จะส่งผลให้เกิดการจดจำและบันทึกเป็นข้อมูลเบื้องต้นในสมอง และสามารถเรียกใช้ความจำนี้ขึ้นมาใหม่ได้ตามที่ต้องการ และเมื่อเจอสิ่งนั้นอีกก็จะรู้จักสิ่งนั้น การสังเกต เป็นกระบวนการตั้งคำถามเบื้องต้น การมองเห็นกลายเป็นทักษะที่สำคัญในการเปิดรับรู้โลกของเด็กๆ แต่ในความจริงยังมีอีกหลายทักษะของการสังเกตเพื่อให้เกิดการรับรู้เช่นการได้ยินที่หลากหลาย ที่ได้ฟังเสียงต่างแหล่ง ต่างที่มา การดมกลิ่น อาจสามารถใช้กลิ่นระบุตัวตนโดยไม่ต้องมองเห็นหรือได้ยิน จนไปถึงการลิ้มรส และการสัมผัส การเรียนรู้ในหลากหลายวิธีในการสังเกตนี้ จะทำให้เกิดการฝึกฝนผัสสะต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้เกิดมิติของการทำความรู้จัก ความเข้าใจ และเข้าถึงจิตใจของสรรพสิ่งรอบตัวในรูปแบบของ"ความเข้าอกเข้าใจ" ที่มากกว่า "รู้จัก"
เมื่อโตขึ้น ทักษะนี้กลับกลายเป็นว่าพัฒนาน้อยลง อาจจะเป็นจากการใช้ชีวิตที่รีบเร่ง จนไม่มีเวลาเปิดสัมผัสกับสิ่งรอบตัว หรือคิดว่ารู้แล้วเข้าใจแล้ว และด่วนสรุป จึงทำให้ดำเนินชีวิตแบบ "ไม่มีปัญหา" เช่น ไม่เคยสังเกตว่า โฆษณาของถูกทุกวัน ราคาถูกนั้นเกิดจากอะไร เพราะเพิ่มประสิทธิภาพจนลดราคา หรือ บีบผู้ผลิตเช่น ชาวไร่ชาวนา จนหน้าเขียวและยากจนต่อไป อย่างต่อเนื่อง
พ่อแม่ และครู ควรจะมีบทบาทช่วยส่งเสริมให้การสังเกต จากสัมผัสหลากหลายเป็นเรื่องสนุก น่าสนใจ และชวนให้เด็กฝึกฝนทักษะนี้โดยไม่ไปตัดบท หรือเร่งรัดให้ไปสู่คำตอบที่เราคิดว่าเพียงพอและทันเวลาที่จำกัด การเอื้อให้เด็กมีชีวิตที่เชื่องช้าบ้าง โอ้เอ้บ้าง จะทำให้เขามีโอกาสได้สังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
การสังเกต จึงเป็นการเรียนรู้เบื้องต้นที่หลายคนมองข้ามไป หลายคนเดินผ่านไปตามทางไม่เห็นดอกไม้ บางคนเห็นดอกไม้ ไม่รู้ว่ากลิ่นของเขาเป็นอย่างไร บางคนได้กลิ่น แต่ไม่รู้ว่าเขาบอบบางเพียงใด และเคยไหมที่เอาหูไปแนบใกล้ๆดอกไม้ บางที อาจจะได้ยินเสียงดอกไม้เขากระซิบกันนะ
ติดตามต่อไปว่า เด็กอุดมปัญหา จะ กลายเป็นเด็กอุดมปัญญาได้หรือไม่ และอย่างไร
เขียนโดยนายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์
ผู้รับใบอนุญาต-ผู้จัดการโรงเรียนกาละพัฒน์
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ส่งคำขอบคุณ แทน ของขวัญ
ถึง สมาชิกชุมชนกาละพัฒน์ทุกท่าน
ในโอกาสที่จะถึงวันเปลี่ยนผ่านปีพ.ศ. หลายคนก็ใช้โอกาสนี้แสดงความยินดีโดยการมอบของขวัญ การ์ดอวยพร
ให้กันและกัน ก็เลยอยากชวนคิดเรื่องนี้ครับ ว่าการให้ของขวัญในเทศกาลนี้ส่งความสุขได้จริงหรือ และหากไม่ให้ของขวัญ จะให้อะไรกันดีหละ จะได้มีความสุขกันทั่วหน้า
ข้อมูลจาก http://www.recycleworks.org/resident/holiday_facts.html บอกว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉพาะในอเมริกา การ์ดอวยพรมียอดขาย 2.6 พันล้านใบ ซึ่งหากมาตั้งรวมกันในสนามฟุตบอลจะเท่ากับตึกสูง 10 ชั้น
โบว์ที่ผูกของขวัญรวมกันยาว 38,000 ไมล์ ซึ่งพันรอบโลกได้หนึ่งรอบพอดี
ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อได้รับก็ต้องให้ตอบ ให้กันไปให้กันมา เลยไม่รู้ว่าเป็นเทศกาลปล่อยของ หรือ ให้ความสุขกันแน่
Marcus Tullius Cicero (http://en.wikipedia.org/wiki/Cicero) นักปรัชญาชาวกรีกที่เสียชีวิตไปตั้งแต่ 43 ปีก่อนคริสต์กาล ได้กล่าวว่า "ความรู้สึกชื่นชมและขอบคุณ" ไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคุณธรรม
แต่เป็นต้นกำเนิดของคุณธรรมอื่น ๆ ทั้งหมด นักจิตวิทยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า "ความรู้สึกชื่นชมและขอบคุณ"
มีส่วนสำคัญมากต่อพื้นฐานของอารมณ์ และพบความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างความสุข กับการที่จะรู้จักชื่นชมและขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ มีการทดลองเพื่อหาวิธีการเพิ่มความสุข Seligman และคณะทดลองและรายงานในปี 2005 พบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยเขียนสิ่งที่ "ชื่นชมและอยากขอบคุณ" 3 อย่าง ทุกวัน (gratitude journals) พบว่าคะแนนความสุข (Happiness Score) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่ว่าจะวัดซ้ำครั้งใดเมื่อเวลาผ่านไปก็พบว่าคะแนนเพิ่มขึ้นตลอด
แม้ว่าสิ้นสุดการวิจัยไปแล้ว ผู้เข้าร่วมหลายคนยังยืนยันที่จะทำต่อและงานวิจัยอื่นในรูปแบบนี้ก็ให้ผลยืนยันว่า
ได้ผลต่อความสุขที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ความรู้สึก "ชื่นชมและขอบคุณ" เป็นสิ่งที่ส่งผลอย่างมากต่อความคิดของคนเมื่อต้องเผชิญปัญหา
ผู้ที่มีพื้นฐานอารมณ์ "ชื่นชมและขอบคุณ" จะมีมุมมองเรื่องราวต่างๆ เป็นบวก แก้ปัญหาและอุปสรรคได้อย่างดี
ไม่มีจิตตก ไม่เครียด ไม่ซึมเศร้า มีแนวโน้มที่จะมองข้ามเรื่องแย่ๆ ของคนหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่สนใจมองแต่สิ่งดีๆแทน และส่งผลทำให้สุขภาพดี
มีงานวิจัยพบว่า หากจะให้ชีวิตคู่รักกันหวานแหววไปตลอด หากข้อดีที่จะ "ชื่นชมและขอบคุณ"
ให้ได้ 5 ข้อ ก่อนที่จะหาข้อตำหนิหรือไม่พอใจ หากในที่ทำงานเพื่อนร่วมงานกันให้มองหาสิ่งที่ "ชื่นชมและขอบคุณ"
ให้ได้ 3 ข้อ ก่อนที่จะตำหนิและไม่พอใจ 1 อย่าง
เรามักพบเรื่องราวแบบนี้ได้ในคนที่พบว่าเป็นโรคร้าย คนที่พิการทั้งตั้งแต่กำเนิด หรือจากอุบัติเหตุ
ที่เมื่อเปลี่ยนความคิดที่มา "ขอบคุณ" สิ่งร้ายๆ(ในสายตาคนอื่น) ว่าทำให้เขาเห็นคุณค่าของเวลาและชีวิต
และจะใช้เวลาที่มีอยู่นี้ทุกขณะทำสิ่งดีให้เกิดขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อตนเอง แต่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนมากมาย
ซึ่งคนเหล่านี้กลับมีพลังอย่างมหาศาลจนบางครั้งก็หายป่วยจากโรคนั้นไปเลย
"ขอบคุณ" เป็นคำง่ายๆ และสุขใจทั้งผู้เอ่ยคำและผู้ฟัง ในเทศกาลปีใหม่นี้สามารถสร้างความรู้สึก "ชื่นชมและขอบคุณ" ขึ้นจากส่วนลึกของหัวใจ โดยการ "ชื่นชมและขอบคุณ" คนใกล้ตัว คนรัก คนไกลตัว ต้นไม้ อากาศ น้ำท่วม คราบรา
Big Bag นักการเมือง ฯลฯ
พูดออกมาเลย ใช้แรงไม่มาก ไม่ก่อขยะ แต่ติดตราตรึงในดวงใจไปอีกนาน
ส.ค.ส. “ส่ง ความสุข” เปลี่ยนมาเป็น ส.ค.ข. "ส่ง คำ ขอบคุณ" แทนการให้ของขวัญ เพื่อเป็นวัฒนธรรมนอกกะลา
เพราะสามารถลด Carbon foot print และสร้างความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ
ขอบคุณ ทุกคนที่มาร่วมกันสร้างความสุขให้งอกงามตามกาลเวลา ณ ชุมชนกาละพัฒน์ครับ
หมอก้อง
ในโอกาสที่จะถึงวันเปลี่ยนผ่านปีพ.ศ. หลายคนก็ใช้โอกาสนี้แสดงความยินดีโดยการมอบของขวัญ การ์ดอวยพร
ให้กันและกัน ก็เลยอยากชวนคิดเรื่องนี้ครับ ว่าการให้ของขวัญในเทศกาลนี้ส่งความสุขได้จริงหรือ และหากไม่ให้ของขวัญ จะให้อะไรกันดีหละ จะได้มีความสุขกันทั่วหน้า
ข้อมูลจาก http://www.recycleworks.org/resident/holiday_facts.html บอกว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉพาะในอเมริกา การ์ดอวยพรมียอดขาย 2.6 พันล้านใบ ซึ่งหากมาตั้งรวมกันในสนามฟุตบอลจะเท่ากับตึกสูง 10 ชั้น
โบว์ที่ผูกของขวัญรวมกันยาว 38,000 ไมล์ ซึ่งพันรอบโลกได้หนึ่งรอบพอดี
ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อได้รับก็ต้องให้ตอบ ให้กันไปให้กันมา เลยไม่รู้ว่าเป็นเทศกาลปล่อยของ หรือ ให้ความสุขกันแน่
Marcus Tullius Cicero (http://en.wikipedia.org/wiki/Cicero) นักปรัชญาชาวกรีกที่เสียชีวิตไปตั้งแต่ 43 ปีก่อนคริสต์กาล ได้กล่าวว่า "ความรู้สึกชื่นชมและขอบคุณ" ไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคุณธรรม
แต่เป็นต้นกำเนิดของคุณธรรมอื่น ๆ ทั้งหมด นักจิตวิทยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า "ความรู้สึกชื่นชมและขอบคุณ"
มีส่วนสำคัญมากต่อพื้นฐานของอารมณ์ และพบความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างความสุข กับการที่จะรู้จักชื่นชมและขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ มีการทดลองเพื่อหาวิธีการเพิ่มความสุข Seligman และคณะทดลองและรายงานในปี 2005 พบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยเขียนสิ่งที่ "ชื่นชมและอยากขอบคุณ" 3 อย่าง ทุกวัน (gratitude journals) พบว่าคะแนนความสุข (Happiness Score) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่ว่าจะวัดซ้ำครั้งใดเมื่อเวลาผ่านไปก็พบว่าคะแนนเพิ่มขึ้นตลอด
แม้ว่าสิ้นสุดการวิจัยไปแล้ว ผู้เข้าร่วมหลายคนยังยืนยันที่จะทำต่อและงานวิจัยอื่นในรูปแบบนี้ก็ให้ผลยืนยันว่า
ได้ผลต่อความสุขที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ความรู้สึก "ชื่นชมและขอบคุณ" เป็นสิ่งที่ส่งผลอย่างมากต่อความคิดของคนเมื่อต้องเผชิญปัญหา
ผู้ที่มีพื้นฐานอารมณ์ "ชื่นชมและขอบคุณ" จะมีมุมมองเรื่องราวต่างๆ เป็นบวก แก้ปัญหาและอุปสรรคได้อย่างดี
ไม่มีจิตตก ไม่เครียด ไม่ซึมเศร้า มีแนวโน้มที่จะมองข้ามเรื่องแย่ๆ ของคนหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่สนใจมองแต่สิ่งดีๆแทน และส่งผลทำให้สุขภาพดี
มีงานวิจัยพบว่า หากจะให้ชีวิตคู่รักกันหวานแหววไปตลอด หากข้อดีที่จะ "ชื่นชมและขอบคุณ"
ให้ได้ 5 ข้อ ก่อนที่จะหาข้อตำหนิหรือไม่พอใจ หากในที่ทำงานเพื่อนร่วมงานกันให้มองหาสิ่งที่ "ชื่นชมและขอบคุณ"
ให้ได้ 3 ข้อ ก่อนที่จะตำหนิและไม่พอใจ 1 อย่าง
เรามักพบเรื่องราวแบบนี้ได้ในคนที่พบว่าเป็นโรคร้าย คนที่พิการทั้งตั้งแต่กำเนิด หรือจากอุบัติเหตุ
ที่เมื่อเปลี่ยนความคิดที่มา "ขอบคุณ" สิ่งร้ายๆ(ในสายตาคนอื่น) ว่าทำให้เขาเห็นคุณค่าของเวลาและชีวิต
และจะใช้เวลาที่มีอยู่นี้ทุกขณะทำสิ่งดีให้เกิดขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อตนเอง แต่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนมากมาย
ซึ่งคนเหล่านี้กลับมีพลังอย่างมหาศาลจนบางครั้งก็หายป่วยจากโรคนั้นไปเลย
"ขอบคุณ" เป็นคำง่ายๆ และสุขใจทั้งผู้เอ่ยคำและผู้ฟัง ในเทศกาลปีใหม่นี้สามารถสร้างความรู้สึก "ชื่นชมและขอบคุณ" ขึ้นจากส่วนลึกของหัวใจ โดยการ "ชื่นชมและขอบคุณ" คนใกล้ตัว คนรัก คนไกลตัว ต้นไม้ อากาศ น้ำท่วม คราบรา
Big Bag นักการเมือง ฯลฯ
พูดออกมาเลย ใช้แรงไม่มาก ไม่ก่อขยะ แต่ติดตราตรึงในดวงใจไปอีกนาน
ส.ค.ส. “ส่ง ความสุข” เปลี่ยนมาเป็น ส.ค.ข. "ส่ง คำ ขอบคุณ" แทนการให้ของขวัญ เพื่อเป็นวัฒนธรรมนอกกะลา
เพราะสามารถลด Carbon foot print และสร้างความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ
ขอบคุณ ทุกคนที่มาร่วมกันสร้างความสุขให้งอกงามตามกาลเวลา ณ ชุมชนกาละพัฒน์ครับ
หมอก้อง
วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554
พัฒนาการด้านอารมณ์
เมื่อเช้าน้องเนยนักเรียนชั้นอนุบาล 1 เดินเข้ามาโรงเรียนพร้อมกับคุณพ่อ คุณแม่ พอเดินมาถึงห้องเรียนของพี่ๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 น้องเนยก็เดินเลี้ยวไปด้านหลังห้อง เดินผ่านสนามเด็กเล่นไป พอพบกับคุณครูแจ๋ว น้องเนยก็กล่าวทักทายด้วยการสวัสดี พร้อมกับยกมือไหว้ด้วย หลังจากนั้นก็ยกนิ้วชี้ขึ้นมาทำสัญญาณให้เงียบ
น้องเนย:ครูแจ๋วน้องเนยจะไปจ๊ะเอ๋ คุณครูตาลและคุณครูภาข้างหลังห้องค่ะ
จากนั้นก็เดินย่องเบาๆๆ ไปจนถึงข้างหลังห้องเรียนอนุบาล 1 แล้วมองซ้าย มองขวาเพื่อไม่ให้คุณครูเห็น เมื่อรู้ว่าไม่มีใครเห็นจึงเดินเข้าไปให้ใกล้ที่สุด
น้องเนย: จ๊ะเอ๋
คุณครูและน้องเนยหัวเราะชอบใจ จึงเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เด็กมีความสุข คุณครูมีความสุขและทุกคนมีความสุข
มิตรภาพหรือความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้คลื่นสมองต่ำ พร้อมสำหรับการเรียนรู้ เพราะแต่ละคนอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย ไม่ต้องกดดัน ไม่ต้องระวังตัว
น้องเนย:ครูแจ๋วน้องเนยจะไปจ๊ะเอ๋ คุณครูตาลและคุณครูภาข้างหลังห้องค่ะ
จากนั้นก็เดินย่องเบาๆๆ ไปจนถึงข้างหลังห้องเรียนอนุบาล 1 แล้วมองซ้าย มองขวาเพื่อไม่ให้คุณครูเห็น เมื่อรู้ว่าไม่มีใครเห็นจึงเดินเข้าไปให้ใกล้ที่สุด
น้องเนย: จ๊ะเอ๋
คุณครูและน้องเนยหัวเราะชอบใจ จึงเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เด็กมีความสุข คุณครูมีความสุขและทุกคนมีความสุข
มิตรภาพหรือความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้คลื่นสมองต่ำ พร้อมสำหรับการเรียนรู้ เพราะแต่ละคนอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย ไม่ต้องกดดัน ไม่ต้องระวังตัว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)