วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปณิธานครู


ปณิธาน หมายถึง ความตั้งใจจริงที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยความปรารถนาอยางแรงกลาที่จะบรรลุจุดหมาย ซึ่งกอใหเกิดพลังจิตที่จะกําหนดความคิดและการกระทําของตนเอง ซึ้งคุณครู ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีปณิธานร่วมกัน ดังนี้

1. ย้อนคิดถึงวัยเด็กว่าเราอยากได้ครูอย่างไร เราก็ปฏิบัติอย่างนั้น

2. รักเด็กทุกคนให้เกียรติ หาข้อดี และเสริมพลังให้เป็นคนดีมากยิ่งขึ้น

3. ไม่ยอมปล่อยให้เด็กในห้องล้มเหลวแม้แต่คนเดียว

4. ไม่ยอมปล่อยให้เวลาสูญเปล่า พัฒนาตัวเองให้เป็นครูที่ดียิ่งขึ้นปณิธาน หมายถึง ความตั้งใจจริงที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยความปรารถนาอยางแรงกลาที่จะบรรลุจุดหมาย

5. เป็นครูที่ดีไม่ได้เราจะไปทำอาชีพอื่น


วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สดใสวัยอนุบาล


"…ขอพื้นที่เล็กๆให้ยังเป็นเด็กอยู่ได้ไหม
ในวันหนึงเท่าไร ก็ไม่เปลี่ยนไปได้หรือเปล่า
ให้ความสดใส ยังอยู่กับเรา อย่าให้ใครเขามาแย่งไป
แค่เพียงอยาก ขอพื้นที่เล็กๆนี้ยังเป็นเด็กไปนานๆ
ให้เรายังได้ฝัน ให้เรายังยิ้มได้
โลกแห่งความจริง มันจะดีหรือร้าย
เก็บความเป็นเด็กในหัวใจ เอาไว้…"

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ก้าวย่างอย่างมีสุข

การเดินเล่น...ผู้ใหญ่อาจมองว่าไร้ค่า แต่สำหรับเด็กๆ แล้วมันมีความหมายมากเกินกว่าที่ทุกคนจะเข้าใจ

......................."ก้าวย่างอย่างมีสุข"...........................

อุดมไปด้วยการพัฒนา กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็กทำงานอย่างเต็มที่จากการก้าวเดิน แกว่งแขน กระโดด บางครั้งก็วิ่ง การหยิบจับวัตถุต่างๆ ที่พบระหว่างทาง เกิดการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตาทำงานเชื่อมโยงกัน

ในทางสังคมเด็กๆ ได้เดินจับมือกับเพื่อนที่ตนเองรัก ได้พูดคุย แสดงความคิดเห็นในเรื่องราวต่างๆ ผลัดกันเล่า ผลัดกันถาม ผลัดกันตอบ ยิ้มและหัวเราะด้วยกัน อาจถกเถียงกันบ้างในบางประเด็น ทำให้เกิดความเข้าใจและรู้จักกับตัวตนของแต่ละคนมากขึ้น

เรียนรู้คณิตศาสตร์ จากการได้สลับตำแหน่งกันบ้างจากการเดินแซงหน้าเพื่อน มีการเดินเร็วขึ้นเมื่อกลุ่มที่อยู่ข้างหน้ากำลังมุงดูอะไรสักอย่าง และเดินช้าลงเมื่อพบกับสิ่งที่น่าสนใจระหว่างทาง

เรียนรู้วิทยาศาสตร์จากธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต บางครั้งก็พบปูนาเดินหลงทางมาให้เด็กๆ ได้นับขากัน หอยเชอรี่ออกไข่สีชมพูสวยเป็นแพเกาะไว้ที่ต้นเผือกริมทาง หอยทากกำลังคลานขึ้นต้นไม้อย่างตั้งใจ


เด็กๆ มีความสุข ได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์จากสายลมเย็นที่พัดผ่านมา ได้รับพลังจากแสงแดดอ่อนๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง อารมณ์ดี มีประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดกับกิจกรรมต่อไปได้เป็นอย่างดีค่ะ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหามีไว้แก้


ตอนเด็กๆ หากมีใครเอาเชือกที่พันกันยุ่งมาให้เราแก้ เราก็มักหัวเสียกับเชือกที่พันยุ่งเหยิง ยิ่งแก้ก็ยิ่งอารมณ์เสีย หรือบางคนอาจร้องห่มร้องไห้ และจะเอาเชือกที่พันไปให้ผู้ใหญ่ช่วยแก้ให้


น้องบาสนักเรียนชั้นอนุบาล 1 คนนี้ก็เหมือนกัน น้องบาสได้เอาเชือกที่เดินกะลาที่พันกันยุ่ง มาให้คุณครูช่วยแก้ให้ คุณครูได้ถามน้องบาสกลับว่า ที่เดินกะลานั้นใครเป็นคนเล่นนะ คนที่เล่นจะต้องทำเขาจะต้องทำอย่างไร เขาก็จะย้อนถามตัวเอง และเขาก็จะแก้ปัญหานั้นด้วยตัวเขาเอง เพียงแค่คุณครูคอยให้กำลังใจเขา และบอกว่าหนูทำได้ เขาก็จะเกิดแรงกระตุ้นที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง


ปัญหาของเด็กในบางครั้ง ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กแก้ปัญหาเอง เพียงแค่เราช่วยเสริมแรงโดยการให้กำลังใจเขาก็พอ.................

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เข้าใจวัยอนุบาล


ตามพัฒนาการเด็ก ๆ วัยนี้จะไม่ค่อยอยู่นิ่ง ชอบการค้นหา ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ได้เกรงกลัวกับอันตรายใดๆ เลย ดังนั้นวิธีการเรียนรู้สำหรับวัยเด็กอนุบาลที่เหมาะสม ควรเป็นการได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ซึ่งการได้ปฏิบัติจริงจะส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องเหล่านั้น เช่น ในวันเกี่ยวข้าวของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เด็กๆ ได้ทำปี่ซังข้าวเป่าเล่นสนุกสนาน โดยใช้เคียวเกี่ยวข้าวตัดต้นซังข้าวหรือตอต้นข้าวที่เกี่ยวรวงแล้ว นำส่วนโคน มา1ปล้อง ให้มีข้อปล้องซังข้าวด้านหนึ่งใช้เคียวเฉือนแฉลบทำเป็นลิ่นปี่เพื่อ ใช้เป่าให้เกิดเสียงดังลิ้นปี่ซังข้าวจะต้องคอยดึงกว้างเพียงเล็กน้อย ลมที่เป่าจะเข้าไปในรูซังข้าวทำให้เกิดการเสียดสี ซึ่งทำให้เกิดเสียงและหากจะให้มีเสียงเป็นจังหวะมีเสียงระดับสูงต่ำแล้ว เด็กจะใช้มือ 2 ข้างประกบหุ้มปี่ซังข้าวขยับปลายมือเป็นจังหวะ เสียงปี่จะไพเราะยิ่งขึ้น

จากการเล่นปี่ซังข้าวในวันนั้น เด็กๆ สามารถบอกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำ อธิบายขั้นตอนและวิธีการเล่นได้อย่างดี โดยที่เด็กๆ ได้ใช้กระบวนการ เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงจนเกิดความเข้าใจ

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมรำหมกกล้วย


อาจารย์นฤมลและคุณครูอ้นได้มาช่วยเกี่ยวข้าวที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และท่านทั้งสองยังมีน้ำใจทำขนมรำหมกกล้วยมาฝากคุณครูทุกคน
โดยมีส่วนประกอบ วิธีทำและคุณค่าทางด้านโภชนาการดังนี้
ส่วนผสม
กล้วยน้ำหว้าสุก 1 หวี (หรือประมาณ 13-14 ลูก)
รำข้าว 1 ขีด (ถ้าใช้รำข้าวใหม่จะมีกลิ่นหอม)
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
อุปกรณ์สำหรับห่อ
ใบตอง ,ไม้กลัด
วิธีทำ
1. เนื้อกล้วยน้ำว้านำไปบด หรือปั่นให้ละเอียด
2. ร่อนรำข้าวด้วยตะแกรงร่อนแป้ง เพื่อนำส่วนที่ละเอียดไปใช้
3. ผสมรำข้าวและเกลือป่นลงในกล้วย คลุกเคล้าให้เเป็นเนื้อเดียวกัน
4. ตักใส่ใบตอง ห่อแบบขนมจาก ใช้ไม่กลัด กลัดปิดหัว-ท้าย
5. นำไปปิ้งไฟอ่อนๆจนมีกลิ่นหอม
คุณค่า รำข้าวอุดมด้วย
1. วิตามินที่ละลายน้ำได้ เช่น วิตามินบีรวมช่วยบำรุงประสาท ป้องกันแหนบชา กระตุ้นระบบเผาผลาญในร่างกาย
2. วิตามินที่ไม่ละลายน้ำ เช่น วิตามินอีธรรมชาติ แกมมาโอริซานอล ช่วยให้ผิวยีดหยุ่น ลดริ้วรอย จุดด่างดำ ชะลอวัย ต้านการอักเสบ ลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ลดการตีบตันของหลอดเลือด
3. สารฟลอโฟลิปิค เช่น เลซิตินช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิวและเซลล์ประสาท ต้านอนุมูลอิสระ เสริมความจำ
4. แร่ธาตุต่างๆ เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี เพื่อเพิ่มพลังงาน เพื่อการเผาผลาญ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของสมอง เพิ่มการทำงานของระบบฮอร์โมน
กล้วยนำว้า คุณค่าสำคัญ คือมีกรดอะมิโน อาร์จินิน และฮีสติดิน เป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ ต่อการเจริญเติบโตในเด็ก มีวิตามินเอ บี และแร่ธาตุ เช่น แมกนีเซี่ยม โพแทสเซียมช่วยป้องกันโรคความดัน

ข้าว



ข้าวเอยข้าวสุก ต้องกินทุกบ้านทุกฐานถิ่น
กว่าจะมาเป็นข้าวให้เรากิน ชาวนาสิ้นกำลังเกือบทั้งปี
ต้องทนแดดทนฝนทนลมหนาว กว่าจะได้ข้าวจากนามาถึงนี่
คนกินข้าวควรคิดดูให้ดี ว่าผู้มีคุณแก่เราคือชาวนา
ข้าวทุกจานอาหารทุกอย่าง ไม่กินทิ้งขว้างเป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยากมีมากหนักหนา สงสารบรรดาเด็กไม่มีกิน

บทความนี้เด็กจะได้ระลึกถึงก่อนรับประทานอาหารกลางวันเป็นประจำ ซึ่งในทุกคำของบทความ เด็กๆ รับรู้และเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะเด็กๆ ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การไถนา หว่านกล้า ดำนา เกี่ยวข้าว นวดข้าวและหุ่งข้าว ดังนั้น เด็กๆ จึงรู้คุณค่าของข้าวเป็นอย่างดี ขอบคุณชาวนาที่ปลูกข้าวให้รับประทานค่ะ

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารจากธรรมชาติ



กล้วย เป็นอาหารจากธรรมชาติที่ผู้ใหญ่ใจดี แบ่งปันมาให้เด็กๆไว้รับประทาน หลังจากที่เหนื่อยจากการทำกิจกรรม

กล้วยยังมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้น ยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรค

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สมองกับการเรียนรู้


จากการศึกษาเรื่องสมองกับการเรียนรู้
คุณครูได้ร่วมมือกันค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล แล้วนำเสนอให้คณะคุณครูร่วมฟัง ซักถาม และเสนอแนะเพิ่มเติมในสิ่งที่ยังไม่ครอบคลุม
ทำให้คุณครูเข้าใจระบบการทำงานของสมองว่ามีความสอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กอย่างไร
เมื่อครูเกิดความเข้าใจในเรื่องนี้แล้ว ก็จะสามารถคิดรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กให้เกิดความพร้อมในทุกๆ ด้านให้เต็มตามศักยภาพของเด็ก

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รู้จักกันฉันพี่น้อง

เมื่่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีคำถามว่า
"จะทำอย่างไรให้รู้จักกันให้มากที่สุด"


คุณครูจึงเลือกกิจกรรมทำความรู้จักกันผ่านการทำแผนที่ทางความคิด(Mind mapping) เกี่ยวกับตนเอง โดยให้แต่ละคนทำสรุปข้อมูลตนเองก่อน


จากนั้นก็สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอ่าน พร้อมทั้งพูดคุย ซักถามข้อมูลอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแผนที่ความคิดนั้น









จากการทำกิจกรรมในวันนั้น ทำให้เพื่อนครูได้รู้จักกันมากขึ้น
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับตัวเข้าหากัน รู้เขา รู้เรา เรียนรู้ซึ่งกันและ
กัน

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรียนรู้


การเรียนรู้ คือ หัวใจสำคัญของการพัฒนา

เรียนรู้จากอะไรบ้าง

ตา สังเกตทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา

หู ฟังเรื่องราวอย่างตั้งใจ

จมูก ดมกลิ่น รับรู้กลิ่น

ปาก รับรู้รสชาติของอาหาร

กาย ผิวสัมผัสสิ่งต่างๆ

ใจ เปิดรับ เปิดกว้างและไม่มีอคติ

โรงเรียนกาละพัฒน์ ได้พัฒนาความเป็นองค์กรผ่านการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายด้วย

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คุณครูคนใหม่ (คุณครูแจ๋ว)


ชื่อ นางสาวสุพารัตน์
สกุล บุญเที่ยง
ชื่อเล่น ครูแจ๋ว
วันเกิด 30 เมษายน 25519

ภูมิลำเนา บ้านหนองดู่ 2 หมู่ 10 ต.บ้านยาง อ.ลำทะเมนชัย จ.นครราชสีมา

ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองดู่ จังหวัดนครราชสีมา
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนช่องแมววิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย สถาบันราชภัฎจันทรเกษม
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประวัติการทำงาน
ปี พ.ศ. 2541 - 2545 โรงเรียนรุ่งอรุณ จังหวัดกรุงเทพฯ ระดับอนุบาล
ปี พ.ศ.2545 -ปัจจุบัน
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับอนุบาลและประถมศึกษา

แนวคิดในการทำงาน
ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เตรียมกายและเปิดใจให้พร้อมสำหรับ"การเรียนรู้"

คุณครูคนใหม่ (คุณครูภา)


ชื่อ นางสาวกัญญารัตน์
นามสกุล เสนาวิจิตรกุล
ชื่อเล่น ครูภาค่ะ
วันเกิด 15 มิถุนายน 2524
ภูมิลำเนา 64 หมู่ 1 ต.ตะเคียนราม อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 33140
การศึกษา - วท.บ.วิทยาศาสตร์สุขภาพ(การส่งเสริมสุขภาพเด็ก) สถาบันราชภัฏสุรินทร์
- ประกาศนียบัตรบัญฑิตวิชาชีพครู วิทยาลัยราชพฤกษ์ จ.นนทบุรี
การทำงาน มีประสบการณ์ในการสอนนักเรียนอนุบาล 5 ปี จ.นนทบุรี

คุณครูคนใหม่ (คุณครูแทน)



ชื่อ น.ส.วชิรปราณี
นามสกุล คล้ายพงษ์
ชื่อเล่น ครูแทน
วันเกิด 8 กรกฎาคม 2529

ภูมิลำเนา 56/39 หมุ่บ้านศุภลัยซิตี้ รีสอร์ท ถนน เทพกษัตรี ตำบลรัษฎา
อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

ประวัติการศึกษา
ประถม โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา ภูเก็ต
มัธยม โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา ภูเก็ต
ปวช. วิทยาลัยอาชีวศึกษา ภูเก็ต สาขาอุตสาหกรรมการท่องเทียวและการโรงแรม
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เอก การท่องเที่ยว

แนวคิดในการทำงาน
....มีคำถามว่า เรามีไก่อยู่หนึ่งตัว จะทำยังไงให้ไก่ตัวนี้กินได้นานมากที่สุด
......คำตอบของแทนคือ เอาไปทำต้มยำไก่ แล้วเอาไปแจกให้ทุกคน แล้ววันหนึ่งจะมี ต้มยำไก่ ไก่ย่าง ไก่ทอด ฯลฯ กลับมาหาเราเอง....
เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ก็ต้องรู้จักการให้ ให้ในทุกเรื่องที่เราสามารถให้ได้โดยที่ไม่เดือดร้อนตัวเรา และผู้อื่น แล้วไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็จะมีความสุข.......

คุณครูคนใหม่ (คุณครูตาล)




ชื่อ นางสาววชิราภรณ์
นามสกุล แก้วเงือก
ชื่อเล่น ครูตาล
วันเกิด 2 กรกฏาคม 2529


ภูมิลำเนา 37/38 หมู่ 3 ตำบลเกาะแก้ว ถนนเทพกระษัตรี อำเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

ประวัติการศึกษา ชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านสะปำ "มงคลวิทยา" จังหวัดภูเก็ต
มัธยมศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สาขานาฏศิลป์ไทย (เกียรนิยมอันดับ 2)

ประวัติการทำงาน คุณครูสอนวิชานาฏศิลป์ที่โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พนักงาน Greeter ธนาคารกสิกรไทย









โรงเรียนกาละพัฒน์ ณ ภูเก็ต

โรงเรียนกาละพัฒน์เกิดจากความตั้งใจของคุณหมอก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ที่ต้องการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดภูเก็ต ผนวกกับการศึกษาของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นต้นแบบของการศึกษา
จึงเกิดการทำงานร่วมกัน เพื่อจัดตั้งโรงเรียนกาละพัฒน์ขึ้น โดยเริ่มจากการเลือกสถานที่ตั้ง

วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เดินไปจังหวัดภูเก็ตเพื่อดูสถานที่สำหรับก่อสร้างโรงเรียนกาละพัฒน์